ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554




ชื่อวิทยาศาสตร์:  Victoria Amazonica
ชื่อวงศ์:  Nympheaceae
ชื่อสามัญ:  Victoria
ชื่อพื้นเมือง:  Amazon Water Lily, Royal Water Lily, บัววิกตอเรีย, บัวกระด้ง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้น้ำหรือไม้ล้มลุกหลายฤดู ลำต้นเป็นหัวใต้ดินคล้ายหัวเผือก มีรากอวบขาวจำนวนมากแตกยึดพื้นดินไว้
    ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับถี่ แผ่นใบใหญ่ค่อนข้างกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2-2 เมตร ใบอ่อนสีม่วงแดงเข้ม ใบแก่ด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีสีเขียวอมม่วงแดง และมีหนามเล็ก ๆ ขอบใบตั้งเหมือนขอบกระด้ง ก้านใบมีหนามแข็ง
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยวสีขาวนวล แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู สีชมพูเข้ม และสีม่วงแดง ตามลำดับ ดอกบานเหนือน้ำเล็กน้อย กลีบดอกมีจำนวนมาก เรียงซ้อนเป็นหลายวัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 ซม.
    ฝัก/ผล  มีรูปร่างค่อนข้างกลมเปลือกหนามีหนาม
    เมล็ด  เมล็ดใหญ่จำนวนมาก แมีสีดำ มีลักษณะกลมผิวเรียบเป็นมันขนาดใหญ่จำนวนมาก
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับในอ่างหรือสระน้ำ
การดูแลรักษา:  เป็นบัวที่มีความทนทานปลูกเลี้ยงง่าย สามารถทนแดดทนฝนได้ดี เหมาะที่จะปลูกในบ่อกว้าง ๆ และไม่มีวัชพืชหรือพรรณไม้อื่นขึ้นปะปน
การขยายพันธุ์:  เมล็ด แยกเหง้า หน่อ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกกลิ่นหอมแรงในช่วงกลางคืนเริ่มบานตอนเย็นและหุบตอนเช้า
การใช้ประโยชน์: 
    -    ใช้ปลูกประดับในสระน้ำ
    -    เมล็ดเป็นอาหาร
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกาใต้

น้ำตกเจ็ดสาวน้อย




 
   พันธุ์ 
          ปัจจุบันพันธุ์ดาหลาที่ปลูกตัดดอกมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์สีชมพู และพันธุ์สีแดง
การขยายพันธุ์
          ดาหลาสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ 
          1. การแยกหน่อ 
          
ควรแยกหน่อที่มีความเหมาะสมนำไปปลูกคือ สูงประมาณ 60-100 ซ.ม. ขึ้นไปและมีกิ่งอ่อนกึ่งแก่นประมาณ 4-5 ใบ ใช้มีตัดให้มีเหง้า และรากติดอยู่ด้วย ซึ่งหน่อชนิดนี้จะมีหน่อดอกอ่อน ๆ ติดมาด้วยประมาณ 3 หน่อ นำไปชำในถึงพลาสติก 1 เดือนเพื่อให้หน่อแข็งแรงก่อนปลูก
          2. การแยกเหง้า 
          
โดยการแยกเหง้าที่เกิดใหม่ที่โคนต้น แล้วนำไปชำในแปลงเพาะชำ วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะเริ่มให้ดอก
          3. การปักชำหน่อแก่ โดยนำไปชำในแปลงเพาะชำให้แตกหน่อใหม่แข็งแรง แล้วจึงค่อยย้ายมาปลูกลงแปลง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
          ลำต้น
 
          ดาหลาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้ จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม
          ใบ 
          มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ
          ดอก 
          ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจนิงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอก จะออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ

น้ำมันตะไคร้หอม




น้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลงได้ (1)  ครีมที่มีน้ำมันจากใบตะไคร้หอม ความเข้มข้น 1.25, 2.5 และ 5% มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัด เมื่อทดสอบกับยุงก้นปล่อง โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นาน 2 ชม. และที่ความเข้มข้น 10% จะมีระยะเวลาในการป้องกันได้มากกว่า 4 ชม.  ตำรับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันข่า 5% น้ำมันตะไคร้หอม 2.5% และวานิลลิน 0.5 จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้เช่นกัน โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นานกว่า 6 ชม.  (2, 3) และเมื่อทดสอบกับยุงรำคาญ พบว่าตำรับครีมผสม สามารถป้องกันยุงกัดได้ดีกว่าครีมที่ไม่มีน้ำมันหอมระเหย  เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม มาทดสอบกับยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และเท้าช้าง พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 8-10 ชม. (4) และในการทดสอบกับยุงลาย พบว่าความเข้มข้นที่ผลในการป้องกันยุงได้ร้อยละ 50 (EC50) และร้อยละ 95 (EC95) มีค่าเท่ากับ 0.031 และ 5.259% ตามลำดับ และน้ำมันหอมระเหย ความเข้มข้น 1% สามารถป้องกันยุงกัดได้ 75.19% (5)  สารสกัด 90% เอทานอลจากตะไคร้หอม และสารสกัดตะไคร้หอมที่ผสมกับน้ำมันมะกอกและน้ำมันหอมระเหยกลิ่นชะมดเช็ด เมื่อนำมาทดสอบกับยุงลายและยุงรำคาญตัวเมีย จะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้นาน โดยมีค่าเฉลี่ยช่วงเวลาอยู่ที่ 114-126 นาที นอกจากนี้ยังมีผลในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงได้ด้วย

 

 

 

ลักษณะของต้น แก่นตะวัน เป็นพืชใกล้ชิดกับทานตะวัน มีดอกสีเหลืองสดใส คล้ายดอกบัวตอง และดอกทานตะวัน แต่มีขนาดเล็กกว่า มีหัวใต้ดินคล้ายกับมันฝรั่งเพื่อเก็บสะสมสารอาหาร ซึ่งหัวของแก่นตะวัน จากการ วิจัยพบว่า เป็นแหล่งสะสมของอินนูลิน (inulin) ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง

ทั้งนี้ อินนูลิน ประกอบด้วยน้ำตาลฟรักโตสมีโมเลกุลยาว จับยึดไขมันในเส้นเลือดที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ไขมัน Cholesterol Triglyceride และ LDL จึงลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ขณะที่แก่นตะวัน ให้แคลอรีต่ำ ไม่เพิ่มน้ำตาลในเลือด จึงลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน

ที่สำคัญ อินนูลิน เป็นสารเยื่อใยอาหาร จะไม่ถูกย่อยในกระเพาะ และลำไส้เล็ก อยู่ในระบบทางเดินอาหารเป็นเวลานาน ทำให้ไม่รู้สึกหิว กินอาหารได้น้อย จึงช่วยลดความอ้วน นอกจากนี้ อินนูลิน จะช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น Coliforms และ E.Coli แต่จะเสริมการทำงานของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายคือ Bifidobacteria และ Lactobacillus จึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้ดีขึ้น

เขาใหญ่

 

 

 

เขาใหญ่

เขาใหญ่ ปัจจุบันการเดินทางสะดวกมากมีถนนลาดยางอย่างดี แยกจากทางหลวงหมายเลข 33 ที่สี่แยกเนินหอม ระยะทาง
41 กิโลเมตร ไปยังศูนย์กลางของเขาใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ และไปบรรจบกับถนนมิตรภาพ บริเวณอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทางจาก สี่แยกเนินหอมถึงถนนมิตรภาพประมาณ 81 กิโลเมตร
เขาใหญ่ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 2,168 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ ของ 4 จังหวัด คือ นครนายก นครราชสีมา ปราจีนบุรี และสระบุรี มีภูมิประเทศสวยงาม ประกอบด้วยป่าดิบ ป่าโปร่ง ธารน้ำ น้ำตก สัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ป่านานาชนิดยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาใหญ่ คือ ยอดเขาแหลม มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,292 เมตร ถูกประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2505 นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และถูกประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2548 ดูข้อมูล
สถานที่ท่องเที่ยวบนเขาใหญ่ เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ต่าง ๆ ได้แก่ จุดชมวิว กม.ที่ 30 ถนนธนะรัชต์ ( จากปากช่อง ) จุดชมวิว
เขาเขียว ( ผาตรอมใจ ) และจุดชมวิว กม.ที่ 9 บนทางขึ้นเขาเขียว
น้ำตกที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวชมเพราะทางเข้าสะดวก ได้แก่ น้ำตกเหวนรก ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในเขตอำเภอปากพลี จากตัวเมืองเดินทางไปทางทิศตะวันออกตามถนนสุวรรณศรถึง สี่แยกเนินหอมหรือวงเวียนนเรศวร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง หมายเลข 3077 ซึ่งเป็นทางขึ้นเขาใหญ่ไปจนถึง กม.ที่ 24 มีทางเดินเท้าไปน้ำตกเหวนรก อีก 2 กม.
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านน้ำตกชั้นนี้จะพุ่งไหลลงสู่หน้าผา ชั้นที่สองและสาม ในลักษณะการไหลตก 90 องศา รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร ในฤดูฝนน้ำไหลแรงมาก น้ำตกกองแก้ว เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากห้วยลำตะคอง อยู่ห่างจากที่ทำการ อุทยาน ฯ ประมาณ 100 เมตร ใกล้น้ำตก มีสะพานแขวนข้ามลำห้วยลำตะคอง ซึ่งเป็นแนวแบ่งเขต จังหวัดนครนายกและจังหวัดนครราชสีมา น้ำตกเหวสุวัต อยู่ที่จุดสิ้นสุดของถนนธนะรัชต์ เกิดจากห้วยลำตะคอง ไหลตกจากหน้าผาสูงประมาณ 25 เมตร ในฤดูฝนจะมีน้ำมากและไหลเชี่ยว ในฤดูแล้งปริมาณน้ำน้อย สามารถเดินไปยังหน้าผาของน้ำตกนี้ได้


ซากุระ



ซากุระ (ภาษาญี่ปุ่น : 桜 หรือ 櫻) เป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้ เกาะไต้หวัน หมู่เกาะโอกินาวา ญี่ปุ่น ลักษณะเด่นของซากุระก็คือ เมื่อร่วง จะร่วงพร้อมกันหมด ซากุระจึงเป็นสัญลักษณ์ของเลือดทหารและซามูไรของญี่ปุ่น
มีดอกซากุระในเกาหลี, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, จีน หรือที่อื่นๆ แต่ไม่มีกลิ่น ขณะที่ซากุระของญี่ปุ่นนั้นผู้คนจำนวนมากยกย่องชื่นชมกลิ่นของมัน และมักจะกล่าวฝากไว้ในบทกวี
ดอกซากุระของญี่ปุ่นนี้ ในภาษาอังกฤษมีคำเรียกทั่วไปว่า “cherry blooms” หรือ “cherry blossom” หรือไม่ก็ “Japanese Flowering Cherry” จะบานในช่วงปลายมีนา-ต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ อุณหภูมิเริ่มอุ่นขึ้นจากฤดูหนาวที่หมดไป
ดอกซากุระ ในภาษาญี่ปุ่นนั้น เชื่อกันว่ากร่อนมาจากคำว่า ซะกุยะ (หมายถึง ผลิบาน) อันเป็นชื่อของเจ้าหญิง โคโนฮะนะซะคุยาฮิเม มีศาลบูชาของพระองค์อยู่บนยอดเขาฟูจิด้วย สำหรับพระนามของเจ้าหญิงองค์ดังกล่าวนั้น มีความหมายว่าเจ้าหญิงดอกไม้บาน และเนื่องจากซากุระเป็นดอกไม้ที่นิยมกันมากในญี่ปุ่นสมัยนั้น คำว่าดอกไม้ดังกล่าวจึงหมายถึงดอกซากุระนั่นเอง เจ้าหญิงองค์ดังกล่าวได้รับพระนามเช่นนั้น ก็เพราะมีเรื่องเล่ามาว่าทรงตกจากสวรรค์มาบนต้นซากุระ ดังนั้น ดอกซากุระจึงถือเป็นตัวแทนของดอกไม้ญี่ปุ่น ขณะที่รัฐบาลประกาศให้ดอกเก็กฮวย (ดอกเบญจมาส) เป็นดอกไม้ประจำชาติ

 

 

 

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2497 นายทรัพธนา เหมพิจิตร ผู้จัดการบริษัทการส่งออกข้าว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวหอมในเขตอำเภอบางคล้า ได้จำนวน 199 รวง แล้ว ดร.ครุย บุณยสิงห์ (ผู้อำนวยการกองบำรุงพันธุ์ข้าวในขณะนั้น) ได้ส่งไปปลูกคัดพันธุ์บริสุทธิ์และเปรียบเทียบพันธุ์ที่ สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง (ขณะนี้เป็นสถานีข้าวลพบุรี) ดำเนินการคัดพันธุ์โดยนักวิชาการเกษตรชื่อนายมังกร จูมทอง ภายใต้การดูและของนายโอภาส พลศิลป์ หัวหน้าสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2502 ได้พันธุ์บริสุทธิ์ข้าวขาวดอกมะลิ 4-2-105 และคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ข้าวได้อนุมัติให้เป็นพันธุ์ส่งเสริมแก่เกษตรกร เมื่อ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 โดยเกษตรกรทั่วไปเรียกว่า [ขาวดอกมะลิ 105] ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว [ขาวดอกมะลิ 105] จนได้ข้าวพันธุ์ [กข 15] ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประกาศให้ ข้าวทั้ง 2 พันธุ์เป็นข้าวหอมมะลิไทย

[แก้]ลักษณะจำเพาะของกลิ่นหอมมะลิ

ความหอมของข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยชื่อ 2-acetyl-1-pyroline ซึ่งเป็นสารที่ระเหยหายไปได้ การรักษาความหอมของข้าวหอมมะลิให้คงอยู่นานนั้นจึงควรเก็บข้าวไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส เก็บข้าวเปลือกที่มีความชื้นต่ำ 14-15% ลดความชื้นข้าวเปลือกที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป นักการเกษตรกรบางท่านกล่าวว่า การใช้ปุ๋ยโปตัสเซียมในการปลูก มีแนวโน้มช่วยให้ข้าวมีกลิ่นหอมมากขึ้น (ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน)

[แก้]เกรดในการจำหน่าย

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้แบ่งชั้นของข้าวหอมมะลิดังนี้
  1. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 1 (ดีพิเศษ) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5%
  2. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15%
  3. ข้าวหอมมะลิ ชั้น 3 (ธรรมดา) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30%

[แก้]การส่งออก

  • ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 เป็นต้นมา ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับ 2 ล้านตันในปี พ.ศ. 2520 (ช่วง 50 ปี) หรือมีอัตราเพิ่มเฉลี่ย 1 ล้านตันต่อ 25 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521-2545 การส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านตัน หรือเฉลี่ย 1 ล้านตันทุก ๆ 5 ปี การส่งออกข้าวไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะนี้ดำเนินไปพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของประชากรจาก 11 ล้านคนในปี พ.ศ. 2470 มาเป็น 63 ล้านคนในปีพ.ศ. 2547 และพื้นที่ปลูกข้าวของไทยก็เพิ่มขึ้น 16 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2470 มาเป็น 61 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2547
  • การส่งออกข้าวไทยในปัจจุบัน เป็นการค้าแบบเสรีในลักษณะที่ผู้ส่งออกตกลงกับผู้ซื้อใน ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีลักษณะการส่งออกข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล แต่ก็ไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเอกชน โดยในปี พ.ศ. 2544 เอกชนส่งออกถึง 7,237,708 ตัน คิดเป็น 96.24 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ขณะที่รัฐบาลส่งออกเพียง 282,970 ตัน คิดเป็น 3.76 เปอร์เซ็นต์ของการส่งออก และในปี พ.ศ. 2546 ปริมาณการส่งออกข้าวไทยทำสถิติสูงที่สุดถึง 7.597 ล้านตัน ทำรายได้ให้ประเทศ 76,368 ล้านบาท โดยส่งไปขายทั่วโลก 173 ประเทศ ตลาดหลักของ ข้าวไทยอยู่ในทวีปเอเชีย แอฟริกาตะวันออกกลาง อเมริกา ยุโรป และโอเชียเนียตามลำดับ

การจัดสวน




การจัดสวน หมายถึง การจัดสภาพ หรือตกแต่งสถานที่ ให้เหมาะสมสวยงาม ทำให้สภาพแวดล้อม บรรยากาศน่าอยู่ และเอื้อประโยชน์ต่อกิจกรรมต่าง ๆ
ความสำคัญและประโยชน์ในการจัดสวน

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การออกแบบจัดสวน

คือการจะทำให้สวนมีความสวยงาม จะต้องมีความรู้พื้นฐาน ค่อนข้างจะสูงมาก ในเรื่องของการออกแบบ นอกจากนี้ สวนสวย ไม่ใช่ว่า สวนจะอยู่ได้นาน จะต้องดูว่าสวนสวย จะต้องมีการดูแลรักษาที่ดี เพื่อให้เขามีชีวิต ที่อยู่ได้ยาวนาน ด้วย หลักการออกแบบ จึงมีความ จำเป็น ต่อการจัดสวนมาก เพราะถือว่าการออกแบบ การเขียนแบบ เป็นจุดเริ่มต้น ของงาน การออกแบบ ที่ดีต้องอาศัยความรู้อยู่ 2 อย่างด้วยกัน
  1. องค์ประกอบของศิลป์
  2. หลักศิลปในการออกแบบ(Principle of design)

ชะอม



ชื่อ "ชะอม" 
วงศ์ "LEGUMINOSAE" ชื่อวิทยาศาสตร์ "AcaciaPennata(L.)Willd.Subsp. 
InsuavisNielsen" 
ชื่อพื้นเมือง "ผักหละ(เหนือ),ฝ่าเซ้งดู่,พูซูเด๊าะ 
(กระเหรี่ยง,แม่ฮ่องสอน)โพซุยโดะ(กระเหรี่ยง, 
กำแพงเพชร),อม(ใต้),ผ้กขา(อุดรธานี,อีสาน), 
ผักหล๊ะ(ไทยยอง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อมแต่เคยมีพบชะอมในป่าลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้1.2เมตร 
ไม้ชะอมที่ปลูกตามบ้านจะพบในลักษณะไม้พุ่มและเจ้าของมักตัแต่งกิ่งเพื่อให้ออกยอดไม่สู่เกินไปจะได้เก็บยอด 
ได้สะดวกตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมใบเป็นใบประกอบขนาดเล็กมีก้านใบแยกเป็นใบอยู่2 ทางลักษณะ 
คล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อยใบอ่อนมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอใบเรียงแบบสลับใบย่อยออกตรงข้ามกัน 
ไบย่อรูปรีมีประมาณ13-28คู่ขอบใบเรียบปลายใบแหลมดอกออกที่ซอกใบสีขาวหรือขาวนวลดอกขนาด 
เล็กและเห็นชัดเฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ


การปลูก 
ชะอมเป็นไม้ที่ปลูกง่ายปลูกโดยวิธีการปักชำการเพาะเมล็ดการตอนกิ่งและการโน้มกิ่งที่มีข้อปักดินเพื่อให้ได้ 
ต้นใหม่แต่วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือการเพาะเมล็ดการปลูกชะอมมักปลูกในฤดูฝนเพราะไม่ต้องดูแลมากนักการ 
เพาะเมล็ดทำได้โดยเอาเมล็ดใส่ถุงพลาสติกแล้วรดน้ำวันละ1ครั้งเมื่อเมล็ดงอกแล้วจึงย้าไปปลูกยังแปลว 
ที่เตรียมไว้ควรปลูกห่างกันประมาณ5-5เมตรเนื้อที่1ไร่จะปลูกได้ประมาณ60ต้นปุ๋ยที่ใช้ดูแลรักษามักใชัปุ๋ย 
สดหรือมูลสัตว์ถ้าต้องการให้ชะอมสมบูรณ์และแตกยอดเร็วต้องดูแลและควรรดน้ำให้สม่ำเสมอและเพียง 
พอเมื่อเก็บยอดชะอมควรเหลือไว้ที่ยอด3-4ยอดเพื่อให้ชะอมได้ปรุงอาหารหายใจมิฉะนั้นชะอมจะตายชะอม 
เป็นรายได้เสริมให้กับเกษตรกรได้ดีมีการบันทึกถึงรายได้จากการขายยอดชะอมของชาวบ้านที่จ.สุรินทร์ 
พบว่ามีรายได้2000-7000ต่อเดือนขึ้นกับฤดูกาลและขนาอของพื้นที่ที่ปลูกนอกจากนี้ยังเป็นไม้ที่ปลูกเพียงครั้งเดียและเจริญเติบ 
โตให้ยอดอ่อนได้นานหลายปี

ประโยชน์ทางยา 
รากของชะอมสรรพคุณแก้ท้องเฟ้อขับลมในลำไส้แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี


ประโยชน์ทางอาหาร 
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล"ยอดอ่อนใบอ่อน"เป็นไม้ที่ออกยอดทั้งปีแต่จะออกมากในฤดูฝนชาวเหนือนิยมรับ 
ประทานยอดชะอมหน้าแล้งเพราะผักชะอมหน้าฝนจะมีรสเปรี้ยวกลิ่นฉุนบ้างครั้งทำให้ปวดท้อง 
การปรุงอาหารชะอมเป็นผักที่รับประทานได้ในทุกภาคของเมืองไทยวิธีการปรุงเป็นอาหารคือรบประทาน 
เป็นผักจิ้มโดยการลวกหรือนึ่งให้สุกหรือใช้ยอดอ่อนใบอ่อนเด็ดเป็นชิ้นสั้นๆแล้วชุบกับไข่ทอดรับประทาน 
ร่วมกับน้ำพริกกะปิชาวเหนือรับประทานร่วมกันส้มตำมะม่วงตำส้มโอนอกจากนี้ชาวเหนือและชาวอีสาน 
ยังนิยมนำไปปรุงเป็นแกงเชนชาวอีสานมักนำไปแกงรวมกับปลาไก่เนื้อกบเขียดต้มเป็นอ่อมหรือแกงแกง 
ลาวและแกงแคของชาวเหนือเป็นต้น

รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ 
ยอดชะอมใบอ่อนมีรสจืดกลิ่นฉุน(กลิ่นหอมสุขุม)ช่วยลดความร้อนของร่างกายยอดชะอม100กรัมให้พลัง 
งานกับสุขภาพ57กิโลแคลอรี่ประกอบด้วยเส้นใย5.7กรัมแคลแซียม58มิลลิกรัมฟอสฟอรัส80มิลลิกรัม 
เหล็ก4.1มิลลิกรัมวิตามินเอ10066IUวิตามินบีหนึ่ง0.05มิลลิกรัมวิตามินบีสอง0.25มิลลิกรัมในอาซิน 
1.5มิลลิกรัมวิตามินซี58มิลลิกรัม


ไฮโดรโปรนิกส์



ไฮโดรโปรนิกส์เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นับเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช โดยเฉพาะการปลูกผักและพืชที่ใช้เป็นอาหาร เนื่องจากประหยัดพื้นที่ และไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่างๆ ในดิน ทำให้ได้พืชผักที่สะอาดเป็นอาหาร ปัจจุบันนี้ในเทคนิคการปลูกพืชแบบไร้ดินหลายแบบด้วยกัน
ประโยชน์ของการปลูกพืชแบบไฮโดรโปรนิกส์ คือ
1. ช่วยให้มีสิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้มากขึ้นสำหรับการเติบโตของพืช แทนที่จะเป็นการใช้ดินอย่างเดิม ทำให้กำจัดตัวแปรที่ไม่ทราบออกไปจากการทดลองได้จำนวนมาก
2. พืชหลายชนิดจะให้ผลผลิตได้มากในเวลาที่น้อยกว่าเดิม และบางครั้งก็มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิมด้วย ซึ่งในสภาพแวดล้อมและสภาพการเศรษฐศาสตร์หนึ่งๆ การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์จะให้ผลกำไรแก่เกษตรกรได้มากขึ้น และด้วยการปลูกที่ไม่ใช้ดิน จึงทำให้พืชไม่มีโรคที่เกิดในดิน ไม่มีวัชพืช และไม่ต้องจัดการดิน และยังสามารถปลูกพืชใกล้กันมากได้

7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

  1. มหาพีระมิดแห่งกีซา ของกษัตริย์คูฟู ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ในอียิปต์ มีอายุราว 2,690 ปีก่อนคริสตกาล หรือเก่าแก่กว่านั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เก่าแก่ที่สุด และยังคงปรากฏอยู่จนปัจจุบัน และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
  2. สวนลอยแห่งบาบิโลน สร้างโดยพระเจ้าเนบูคาดเนสซาร์ที่ 2 เมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 6 ปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานหรือซาก แต่คาดว่าน่าจะอยู่บริเวณเดียวกับกรุงบาบิโลนในประเทศอีรัก
  3. เทวรูปซูสที่โอลิมเปีย ที่เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีก สร้างเมื่อประมาณ 462 ปีก่อนคริสตกาล สร้างและตกแต่งด้วยทองคำ งาช้าง และอัญมณีต่างๆ มีความสูง 12 เมตร ภายหลังแผ่นดินไหวเสียหายจนหมดสิ้น
  4. วิหารอาร์เทอมีส (หรือ วิหารไดอานา) ที่เอเฟซุสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี) สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษก่อนคริสตกาลที่ 4 ภายหลังถูกทำลายโดยพวกโกธส์จากเยอรมันที่บุกเข้ามาโจมตี เมื่อปี พ.ศ. 805 ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
  5. สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส ที่ฮาลิคาร์นัสซัสในเอเชียไมเนอร์ (ประเทศตุรกี) สร้างโดยพระราชินีอาร์เทมิเซีย เป็นอนุสรณ์สถานแก่กษัตริย์มอโซลุสแห่งคาเรียที่สวรรคตเมื่อ 353 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวและต่อมานำไปใช้ในการก่อสร้างโดยอัศวินแห่งโรดส์ ปัจจุบันพอเหลือซากอยู่บ้าง
  6. เทวรูปโคโลสซูส ในทะเลเอเจียน ประเทศกรีก เป็นรูปสำริดขนาดใหญ่ของสุริยเทพ หรือเฮลิเอิส สูงประมาณ 32 เมตร ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวหลังการสร้างเพียง 60 ปี ปัจจุบันไม่ปรากฏซาก
  7. ประภาคารฟาโรส แห่ง อเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ สมัยพระเจ้าปโตเลมี ประมาณ 271 ปีก่อนคริสตกาล ถูกทำลายโดยสิ้นเชิงเมื่อแผ่นดินไหวในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ปัจจุบันมีป้อมขนาดเล็กอยู่บนซากที่เหลือ

พลังงานทดแทน

พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มาเป็น ๒ ประเภท คือ
พลังงานทดแทน (Alternative Energy)จากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และ
พลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น
ศักยภาพ และสถานภาพการใช้ประโยชน์ของพลังงานทดแทน
การศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และอื่นๆ เพื่อให้มีการผลิต และการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม สำหรับผู้ใช้ในเมือง และชนบท ซึ่งในการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาพลังงานทดแทนดังกล่าว ยังรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย งานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องโดยตรงภายใต้แผนงานนี้คือ โครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงาน และมีความเชื่อมโยงกับแผนงานพัฒนาชนบทในโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านชนบทที่ไม่มีไฟฟ้า โดยงานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทนจะเป็นงานประจำที่มีลักษณะการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ ในเชิงกว้างเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ทั้งในด้านวิชาการเชิงทฤษฎี และอุปกรณ์เครื่องมือทดลอง และการทดสอบ รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุน และรองรับความพร้อมในการจัดตั้งโครงการใหม่ๆ ในโครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงานและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น การติดตามความก้าวหน้าและร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาต้นแบบ ทดสอบ วิเคราะห์ และประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น และเป็นงานส่งเสริมการพัฒนาโครงการที่กำลังดำเนินการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้โครงการที่เสร็จสิ้นแล้วได้นำผลไปดำเนินการส่งเสริม และเผยแพร่และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป
การเลี้ยงดู....       
             ปลาสอดเป็นปลายสวยงามที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่งเหมาะที่จะนำมาฝึกเลี้ยง
สำหรับผู้ที่เริ่มเลี้ยงปลาและไม่ค่อยมีเวลามากนัก       เพราะปลาสอดแดงเป็นปลาที่
เลี้ยงง่าย   ราคาซื้อขายไม่แพงนัก มีความทนทานดี   สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้      ปลาสอดแดงสามารถปล่อยลงเลี้ยงเป็นฝูงในตู้กระจกได้  โดยให้มีตัวเมียมากกว่าตัวผู้     
การขยายพันธุ์...    
 


         ปลาสอดแดงขยายพันธุ์ได้เร็วมาก  โดยปลาตัวผู้จะสอด
อวัยวะเพศเข้าไปในอวัยวะเพศของปลาตัวเมียเพื่อฉีดน้ำเชื้อเข้าไปผสมกับไข่ในท้อง  ตัวเมียจะให้ลูกภายใน 4 สัปดาห์  และจะให้ลูกอีก 4 - 6 ครั้งโดยไม่ต้องได้รับการผสมพันธุ์  ตัวเมียจะมีลูก
ประมาณครั้งละ 20 - 100 ตัว