ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554




ชื่อวิทยาศาสตร์:  Victoria Amazonica
ชื่อวงศ์:  Nympheaceae
ชื่อสามัญ:  Victoria
ชื่อพื้นเมือง:  Amazon Water Lily, Royal Water Lily, บัววิกตอเรีย, บัวกระด้ง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้น้ำหรือไม้ล้มลุกหลายฤดู ลำต้นเป็นหัวใต้ดินคล้ายหัวเผือก มีรากอวบขาวจำนวนมากแตกยึดพื้นดินไว้
    ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับถี่ แผ่นใบใหญ่ค่อนข้างกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2-2 เมตร ใบอ่อนสีม่วงแดงเข้ม ใบแก่ด้านบนมีสีเขียวเข้ม ด้านล่างมีสีเขียวอมม่วงแดง และมีหนามเล็ก ๆ ขอบใบตั้งเหมือนขอบกระด้ง ก้านใบมีหนามแข็ง
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยวสีขาวนวล แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู สีชมพูเข้ม และสีม่วงแดง ตามลำดับ ดอกบานเหนือน้ำเล็กน้อย กลีบดอกมีจำนวนมาก เรียงซ้อนเป็นหลายวัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 ซม.
    ฝัก/ผล  มีรูปร่างค่อนข้างกลมเปลือกหนามีหนาม
    เมล็ด  เมล็ดใหญ่จำนวนมาก แมีสีดำ มีลักษณะกลมผิวเรียบเป็นมันขนาดใหญ่จำนวนมาก
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับในอ่างหรือสระน้ำ
การดูแลรักษา:  เป็นบัวที่มีความทนทานปลูกเลี้ยงง่าย สามารถทนแดดทนฝนได้ดี เหมาะที่จะปลูกในบ่อกว้าง ๆ และไม่มีวัชพืชหรือพรรณไม้อื่นขึ้นปะปน
การขยายพันธุ์:  เมล็ด แยกเหง้า หน่อ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกกลิ่นหอมแรงในช่วงกลางคืนเริ่มบานตอนเย็นและหุบตอนเช้า
การใช้ประโยชน์: 
    -    ใช้ปลูกประดับในสระน้ำ
    -    เมล็ดเป็นอาหาร
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกาใต้

น้ำตกเจ็ดสาวน้อย




 
   พันธุ์ 
          ปัจจุบันพันธุ์ดาหลาที่ปลูกตัดดอกมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์สีชมพู และพันธุ์สีแดง
การขยายพันธุ์
          ดาหลาสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้ 
          1. การแยกหน่อ 
          
ควรแยกหน่อที่มีความเหมาะสมนำไปปลูกคือ สูงประมาณ 60-100 ซ.ม. ขึ้นไปและมีกิ่งอ่อนกึ่งแก่นประมาณ 4-5 ใบ ใช้มีตัดให้มีเหง้า และรากติดอยู่ด้วย ซึ่งหน่อชนิดนี้จะมีหน่อดอกอ่อน ๆ ติดมาด้วยประมาณ 3 หน่อ นำไปชำในถึงพลาสติก 1 เดือนเพื่อให้หน่อแข็งแรงก่อนปลูก
          2. การแยกเหง้า 
          
โดยการแยกเหง้าที่เกิดใหม่ที่โคนต้น แล้วนำไปชำในแปลงเพาะชำ วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะเริ่มให้ดอก
          3. การปักชำหน่อแก่ โดยนำไปชำในแปลงเพาะชำให้แตกหน่อใหม่แข็งแรง แล้วจึงค่อยย้ายมาปลูกลงแปลง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
          ลำต้น
 
          ดาหลาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้ จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม
          ใบ 
          มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ
          ดอก 
          ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจนิงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอก จะออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ

น้ำมันตะไคร้หอม




น้ำมันตะไคร้หอม (Citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลงได้ (1)  ครีมที่มีน้ำมันจากใบตะไคร้หอม ความเข้มข้น 1.25, 2.5 และ 5% มีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัด เมื่อทดสอบกับยุงก้นปล่อง โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นาน 2 ชม. และที่ความเข้มข้น 10% จะมีระยะเวลาในการป้องกันได้มากกว่า 4 ชม.  ตำรับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันข่า 5% น้ำมันตะไคร้หอม 2.5% และวานิลลิน 0.5 จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้เช่นกัน โดยมีระยะเวลาในการป้องกัน นานกว่า 6 ชม.  (2, 3) และเมื่อทดสอบกับยุงรำคาญ พบว่าตำรับครีมผสม สามารถป้องกันยุงกัดได้ดีกว่าครีมที่ไม่มีน้ำมันหอมระเหย  เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม มาทดสอบกับยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก และเท้าช้าง พบว่ามีผลป้องกันยุงกัดได้นาน 8-10 ชม. (4) และในการทดสอบกับยุงลาย พบว่าความเข้มข้นที่ผลในการป้องกันยุงได้ร้อยละ 50 (EC50) และร้อยละ 95 (EC95) มีค่าเท่ากับ 0.031 และ 5.259% ตามลำดับ และน้ำมันหอมระเหย ความเข้มข้น 1% สามารถป้องกันยุงกัดได้ 75.19% (5)  สารสกัด 90% เอทานอลจากตะไคร้หอม และสารสกัดตะไคร้หอมที่ผสมกับน้ำมันมะกอกและน้ำมันหอมระเหยกลิ่นชะมดเช็ด เมื่อนำมาทดสอบกับยุงลายและยุงรำคาญตัวเมีย จะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้นาน โดยมีค่าเฉลี่ยช่วงเวลาอยู่ที่ 114-126 นาที นอกจากนี้ยังมีผลในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงได้ด้วย

 

 

 

ลักษณะของต้น แก่นตะวัน เป็นพืชใกล้ชิดกับทานตะวัน มีดอกสีเหลืองสดใส คล้ายดอกบัวตอง และดอกทานตะวัน แต่มีขนาดเล็กกว่า มีหัวใต้ดินคล้ายกับมันฝรั่งเพื่อเก็บสะสมสารอาหาร ซึ่งหัวของแก่นตะวัน จากการ วิจัยพบว่า เป็นแหล่งสะสมของอินนูลิน (inulin) ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง

ทั้งนี้ อินนูลิน ประกอบด้วยน้ำตาลฟรักโตสมีโมเลกุลยาว จับยึดไขมันในเส้นเลือดที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ไขมัน Cholesterol Triglyceride และ LDL จึงลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ขณะที่แก่นตะวัน ให้แคลอรีต่ำ ไม่เพิ่มน้ำตาลในเลือด จึงลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน

ที่สำคัญ อินนูลิน เป็นสารเยื่อใยอาหาร จะไม่ถูกย่อยในกระเพาะ และลำไส้เล็ก อยู่ในระบบทางเดินอาหารเป็นเวลานาน ทำให้ไม่รู้สึกหิว กินอาหารได้น้อย จึงช่วยลดความอ้วน นอกจากนี้ อินนูลิน จะช่วยลดปริมาณแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น Coliforms และ E.Coli แต่จะเสริมการทำงานของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายคือ Bifidobacteria และ Lactobacillus จึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้ดีขึ้น

เขาใหญ่

 

 

 

เขาใหญ่

เขาใหญ่ ปัจจุบันการเดินทางสะดวกมากมีถนนลาดยางอย่างดี แยกจากทางหลวงหมายเลข 33 ที่สี่แยกเนินหอม ระยะทาง
41 กิโลเมตร ไปยังศูนย์กลางของเขาใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ และไปบรรจบกับถนนมิตรภาพ บริเวณอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทางจาก สี่แยกเนินหอมถึงถนนมิตรภาพประมาณ 81 กิโลเมตร
เขาใหญ่ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 2,168 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ ของ 4 จังหวัด คือ นครนายก นครราชสีมา ปราจีนบุรี และสระบุรี มีภูมิประเทศสวยงาม ประกอบด้วยป่าดิบ ป่าโปร่ง ธารน้ำ น้ำตก สัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ป่านานาชนิดยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาใหญ่ คือ ยอดเขาแหลม มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,292 เมตร ถูกประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2505 นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และถูกประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2548 ดูข้อมูล
สถานที่ท่องเที่ยวบนเขาใหญ่ เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ต่าง ๆ ได้แก่ จุดชมวิว กม.ที่ 30 ถนนธนะรัชต์ ( จากปากช่อง ) จุดชมวิว
เขาเขียว ( ผาตรอมใจ ) และจุดชมวิว กม.ที่ 9 บนทางขึ้นเขาเขียว
น้ำตกที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวชมเพราะทางเข้าสะดวก ได้แก่ น้ำตกเหวนรก ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในเขตอำเภอปากพลี จากตัวเมืองเดินทางไปทางทิศตะวันออกตามถนนสุวรรณศรถึง สี่แยกเนินหอมหรือวงเวียนนเรศวร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง หมายเลข 3077 ซึ่งเป็นทางขึ้นเขาใหญ่ไปจนถึง กม.ที่ 24 มีทางเดินเท้าไปน้ำตกเหวนรก อีก 2 กม.
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านน้ำตกชั้นนี้จะพุ่งไหลลงสู่หน้าผา ชั้นที่สองและสาม ในลักษณะการไหลตก 90 องศา รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร ในฤดูฝนน้ำไหลแรงมาก น้ำตกกองแก้ว เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากห้วยลำตะคอง อยู่ห่างจากที่ทำการ อุทยาน ฯ ประมาณ 100 เมตร ใกล้น้ำตก มีสะพานแขวนข้ามลำห้วยลำตะคอง ซึ่งเป็นแนวแบ่งเขต จังหวัดนครนายกและจังหวัดนครราชสีมา น้ำตกเหวสุวัต อยู่ที่จุดสิ้นสุดของถนนธนะรัชต์ เกิดจากห้วยลำตะคอง ไหลตกจากหน้าผาสูงประมาณ 25 เมตร ในฤดูฝนจะมีน้ำมากและไหลเชี่ยว ในฤดูแล้งปริมาณน้ำน้อย สามารถเดินไปยังหน้าผาของน้ำตกนี้ได้


ซากุระ



ซากุระ (ภาษาญี่ปุ่น : 桜 หรือ 櫻) เป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้ เกาะไต้หวัน หมู่เกาะโอกินาวา ญี่ปุ่น ลักษณะเด่นของซากุระก็คือ เมื่อร่วง จะร่วงพร้อมกันหมด ซากุระจึงเป็นสัญลักษณ์ของเลือดทหารและซามูไรของญี่ปุ่น
มีดอกซากุระในเกาหลี, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, จีน หรือที่อื่นๆ แต่ไม่มีกลิ่น ขณะที่ซากุระของญี่ปุ่นนั้นผู้คนจำนวนมากยกย่องชื่นชมกลิ่นของมัน และมักจะกล่าวฝากไว้ในบทกวี
ดอกซากุระของญี่ปุ่นนี้ ในภาษาอังกฤษมีคำเรียกทั่วไปว่า “cherry blooms” หรือ “cherry blossom” หรือไม่ก็ “Japanese Flowering Cherry” จะบานในช่วงปลายมีนา-ต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ อุณหภูมิเริ่มอุ่นขึ้นจากฤดูหนาวที่หมดไป
ดอกซากุระ ในภาษาญี่ปุ่นนั้น เชื่อกันว่ากร่อนมาจากคำว่า ซะกุยะ (หมายถึง ผลิบาน) อันเป็นชื่อของเจ้าหญิง โคโนฮะนะซะคุยาฮิเม มีศาลบูชาของพระองค์อยู่บนยอดเขาฟูจิด้วย สำหรับพระนามของเจ้าหญิงองค์ดังกล่าวนั้น มีความหมายว่าเจ้าหญิงดอกไม้บาน และเนื่องจากซากุระเป็นดอกไม้ที่นิยมกันมากในญี่ปุ่นสมัยนั้น คำว่าดอกไม้ดังกล่าวจึงหมายถึงดอกซากุระนั่นเอง เจ้าหญิงองค์ดังกล่าวได้รับพระนามเช่นนั้น ก็เพราะมีเรื่องเล่ามาว่าทรงตกจากสวรรค์มาบนต้นซากุระ ดังนั้น ดอกซากุระจึงถือเป็นตัวแทนของดอกไม้ญี่ปุ่น ขณะที่รัฐบาลประกาศให้ดอกเก็กฮวย (ดอกเบญจมาส) เป็นดอกไม้ประจำชาติ